Monday, August 26, 2013

โรงอาหารสุขสันต์



อาหารมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กวัยเรียนทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา  ถ้าอาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค  หรือสารเคมีก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้  
มาตรฐานด้านอาหารสะอาด และปลอดภัย  เป็นมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนได้บริโภคอาหารที่สะอาด และปลอดภัยต่อสุขภาพ   แต่จากการสุ่มสอบถามโรงเรียนทั่วประเทศจำนวน 2,243 โรงเรียน (กรมอนามัย , 2547)  พบว่า   ร้อยละ 90.2 ของโรงเรียนทั้งหมด ยังไม่เคยได้รับการสำรวจรับรองมาตรฐานของ โรงอาหาร โรงครัว จากหน่วยงานใดเลย    ด้วยเหตุนี้  กรมอนามัยจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาโรงอาหาร โรงครัว  ของโรงเรียนให้ได้มาตรฐานด้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย

มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste )  ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานที่สำคัญ 2 เรื่อง  คือ  ลักษณะทางกายภาพของโรงอาหาร โรงครัว สถานที่รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  และมาตรฐานด้านความสะอาดของอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียน มาตรฐานทุกข้อถูกกำหนดขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพเด็กและเยาวชนให้ได้รับประทานอาหารที่ สะอาด อร่อย และปลอดภัย


โรงเรียนสุราษฎร์ธานีเป็นโรงเรียนอันดับ1ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี



ในโรงอาหารจะแบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ โซน A , B ,C ตามลำดับ ง่ายต่อการซื้ออาหาร โซน A จะเป็นอาหารประเภท ข้าวแกง โซน B จะเป็นอาหารประเภทส้มตำ ก๋วยเตี๋ยว และโซน C จะเป็นการขายน้ำ


โรงอาหารในโรงเรียนสุราษฎร์ธานีกับหลักสุขาภิบาล
หลักสุขาภิบาล
                การสุขาภิบาลอาหารต้องครอบคลุมไปถึงสิ่งต่างๆตั้งแต่ความสะอาดและปลอดภัยของอาหารที่ใช้ อนามัยของผู้ประกอบและผู้บริการการประกอบอาหาร การเก็บรักษาอาหาร ความสะอาดของภาชนะที่ใส่อาหาร อนามัยของสถานที่ประกอบและบริการอาหารตลอดจนการกำจัดสิ่งปฏิกูลต่างๆ
1)      ความสะอาดและความปลอดภัยของอาหาร
อาหารเป็นจุดสำคัญเริ่มต้นที่จะทำให้เป็นอันตรายหรือปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ที่มีหน้าที่จัดซื้ออาหารต้องระมัดระวังในการเลือกอาหารที่ปราศจากเชื้อโรคหรือพิษภัยต่างๆ
                2)   อนามัยของผู้ประกอบและเสิร์ฟอาหาร
ผู้ประกอบและเสิร์ฟอาหารมีความสำคัญไม่น้อยกว่าอาหาร เพราะอาหารอาจจะสะอาดปราศจากเชื้อโรค แต่ผู้ประกอบการอาจแพร่เชื้อโรคไปสู่อาหารได้ตั้งแต่การประกอบไปถึงเสิร์ฟ
                -สุขภาพ ผู้ประกอบไม่มีโรคประจำตัว เช่นโรคผิวหนัง วัณโรค
-ความสะอาดของร่างกาย มือและเล็บต้องสะอาดเสมอ ล้างมือก่อนปรุงอาหาร ผมต้องสะอาดและไม่ปล่อยให้รุงรัง


                -เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ผู้ประกอบมีการสวมใส่เสื้อกันเปื้อนและหมวกคลุมผมให้เรียบร้อย สวมถุงมือพลาสติกในการประกอบการขาย
3) อนามัยของการประกอบและเสิร์ฟอาหาร
                - การเตรียมอาหาร เตรียมอย่างสะอาด
  - การปรุงอาหาร ผู้ปรุงล้างมือสะอาด ปรุงอาหารทุกอย่างให้สุกจริงๆ

  - การชิมอาหาร ใช้ทัพพีตักแยก


                 4) การเก็บรักษาอาหารก่อนเสิร์ฟและหลังเสิร์ฟ ปกปิดภาชนะให้เรียบร้อยไม่ให้แมลงวันไต่ตอมหรือฝุ่นละอองปลิวลงไปในอาหารได้

6) การล้างและเก็บภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ ภาชนะที่ใช้แล้วต้องล้างและเก็บอย่างถูกต้องโดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
  • ·       กวาดเศษอาหารออกให้หมด
  • ·       ล้างเศษอาหารออกให้หมดด้วยน้ำเปล่า
  • ·       ล้างด้วยน้ำยาล้างจานจนหมดสิ่งเปรอะเปื้อนและกลิ่นคาว
  • ·       ล้างน้ำให้หมดสบู่ ถ้าเป็นน้ำร้อนได้ก็ยิ่งดี
  • ·       ล้างด้วยน้ำร้อนจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
  • ·       คว่ำตากแดดหรือผึ่งในที่สะอาดและโปร่ง

7) การกำจัดเศษอาหารและของเสีย
การกำจัดเศษอาหารและของเสียต่างๆต้องทำอย่างถูกหลักอนามัย มิฉะนั้นจะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่างๆได้มากมายหลายอย่าง เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ล้วนเป็นพาหะที่จะนำเชื้อโรคมาสู่คนได้ ต้องมีการกำจัดเศษอาหารทุกวัน ไม่ปล่อยให้เกิดบูดเน่าเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
                -เศษอาหาร เศษอาหารที่ดีควรรวมไว้ในภาชนะหนึ่งเพื่อนำไปใช้ตามความเหมาะสม



มีการแยกเศษอาหาร ภาชนะต่างๆตามถังก่อนนำไปทำความสะอาด แยกประเภทของขยะ เช่น แก้วน้ำ ขวดน้ำ ถุงพลาสติก เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ




-น้ำทิ้ง  ต้องมีทางระบายน้ำสกปรกต่างๆให้ถูกต้อง มีที่กรองเศษอาหารออกไม่ให้ปนไปกับน้ำ จะทำให้เกิดการเน่าเหม็นง่าย ควรมีการกรองพวกไขมันออกเป็นครั้งคราวเพราะอาจอุดตันท่อน้ำได้
                              นี่คือทางระบายน้ำข้างโรงอาหาร ไว้สำหรับให้ผู้ประกอบการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ 

หลังจาก 13.00 น. โรงอาหารจะปิดทำการ ผู้ประกอบการและแม่บ้านจะช่วยกันทำความสะอาดตามบริเวณที่เป็นความรับผิดชอบของตน






No comments:

Post a Comment